วิศวะมหิดล จัดนิทรรศการ โลกเปลี่ยน มหาวิทยาลัยปรับ

โลกเปลี่ยน

โลกเปลี่ยน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) หลังมอบนโยบายให้กับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าเยี่ยมชมผลงานวิจัยนวัตกรรม และนิทรรศการ “โลกเปลี่ยน มหาวิทยาลัยปรับ”  โดยมี รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศ และประสบความสำเร็จในหลายด้าน พร้อมด้วยทีมบริหาร หัวหน้าภาควิชา คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร ให้การต้อนรับ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในนิทรรศการ “โลกเปลี่ยน มหาวิทยาลัยปรับ” มีการแสดงผลงานส่วนหนึ่งของนวัตกรรมเพื่อรองรับโลกอนาคต ครอบคลุม 4 คลัสเตอร์ ได้แก่ 1. ด้านวิศวกรรมสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare Engineering) 2. ด้านโลจิสติกส์และวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง (Logistics and Railway Engineering) 3. ด้านวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) และ 4. ด้านวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Engineering) หลากหลายนวัตกรรม อาทิเช่น หุ่นยนต์ทดสอบวัคซีนอัจฉริยะ (AI-Immunizer) , นวัตกรรม BCI (Brain-Computer Interface Race: BCI)

โดยทีม Mahidol BCILAB ซึ่งคว้าเหรียญเงิน การแข่งขัน “ไซบชาธอน 2020 (Cybathlon)” ที่เปรียบเสมือนโอลิมปิกแห่งเทคโนโลยีระดับโลกเพื่อผู้พิการ ประเภท BCI ควบคุมการแข่งขันรถด้วยคลื่นสมองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ , Biosensors for Med Application (COVID) , โครงการพัฒนายกระดับโลจิสติกส์โรงพยาบาล (Healthcare Logistics) , โครงการพัฒนาระบบราง เมืองศาลายา (Salaya Rail-TOD Project) , จับใจ…เอไอแชทบอทเพื่อผู้ป่วยซึมเศร้า (AI-Jubjai ChatBot) , นวัตกรรมรถพยาบาลเคลื่อนที่ เพื่อรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองฉับพลัน (Stroke Mobile Unit) , โครงการประเมินวัฏจักรชีวิต บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทกระป๋องอะลูมิเนียมและบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม (Aluminum Can Life-Cycle) และ Label No.5 “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง” โดยในปี 2562 มีการติดฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงใน 19 ประเภทผลิตภัณฑ์ อีกด้วย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศและประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้าน ควรถอดบทเรียนความสำเร็จแบบมหิดล ให้เป็นตัวอย่างและเป็นต้นแบบแก่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในด้านการบริหาร ว่าสร้างขึ้นมาได้อย่างไร จากความเป็นเลิศทางการแพทย์ กลายเป็นความเป็นเลิศอย่างรอบด้านได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเป็นการยกระดับและพัฒนามหาวิทยาลัยของไทย ให้ก้าวไกลไปด้วยกันสู่ระดับโลก นอกจากนี้มหาวิทยาลัยไทยควรขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาและทำวิจัยร่วมกัน

นอกจากนี้ การแพทย์และสาธารณสุขก็เป็นอีกเรื่องที่มี Disruptive Change สูงมาก อยากจะเห็นการแพทย์สาธารณสุขของเราเจริญก้าวหน้า จากสถานการณ์โควิดนั้นเราพึ่งพาตนเองทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้น้อย ทำอย่างไรให้ประเทศผลิตยาได้เองมากขึ้น มีอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ สาธารณสุขที่ดี พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น หากทำได้ก็จะเกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองได้อีกมาก

banner Sample

Related Posts