เปิด 7 องค์กรล้ำยุคใช้ IoT Platform แบบรู้แล้วต้องกดว๊าว

IoT Platform

เรารู้จักกับ IoT หรือ Internet of Things กันมาพอสมควรแล้ว และคาดว่าจะมีการนำมาใช้ประโยชน์กันได้ในอนาคตอันใกล้ แต่ในความเป็นจริงวันนี้องค์กรชั้นนำเมืองไทยได้มีการนำ IoT Platform มาประยุกต์ใช้ประโยชน์กันแล้วและมีผลลัพท์ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ หรือพัฒนาต่อยอดในด้านอื่นที่จนต้องกดว๊าวกันเลยทีเดียว

ส่วนเบื้องหลังการใช้งานไอโอทีนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นโอเปอเรเตอร์รายใหญ่อย่างเอไอเอสที่ขณะนี้มี IoT Platform พร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์กันแล้ว

โดยที่ผ่านมาเอไอเอสได้ทำการขยายเครือข่าย NB-IoT ครอบคลุม 77 จังหวัด ตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ผ่านมา และได้ทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อทยอยนำ IoT เข้าไปเริ่มใช้งานจริงอย่างต่อเนื่อง โดยมีทีมงานที่สามารถผสมผสาน ออกแบบ พัฒนารูปแบบบริการที่ตอบโจทย์ สร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรได้อย่างแท้จริง

เริ่มจากภาคเอกชนที่เราคุ้นตากันอย่าง บริษัท ปตท. นำเทคโนโลยี IoT มาช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบระบบ Cathodic Protection เพื่อให้งานบำรุงรักษาท่อส่งก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

จากเซนเซอร์ที่สามารถตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของท่อส่งก๊าซได้ตลอดเวลา และพร้อมส่งข้อมูลตรงจากท่อส่งก๊าซผ่านแอปพลิเคชันถึงมือวิศวกรที่ดูแลได้ทันที

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค นำเครือข่าย NB-IoT จากเอไอเอส เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสร้าง IoT Smart City ที่มีการใช้งานจริงแล้ว ในโครงการ “Perfect Smart City เมืองอัจฉริยะที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการ เช่น Mobike, Smart Lighting, Smart Tracking

รวมถึงการนำ Smart Home และ Security Platform มาต่อยอดพัฒนา Home Application อีกด้วย โดยนำร่องให้บริการแล้วใน 15 โครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

โครตรอนกรุ๊ป ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ และเครื่องหยอดเหรียญประเภทต่างๆ ได้มีการพัฒนาโซลูชัน Smart Coin Kiosk Machine เซ็นเซอร์วัดปริมาณเหรียญภายในเครื่อง ที่เชื่อมต่อเครือข่าย NB-IoT สามารถส่งข้อมูลจะแจ้งเตือนทันทีเมื่อเหรียญเต็มจากจุดต่างๆ ทั่วประเทศ

แสดงผลผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อผู้ดูแลสามารถวางแผนการจัดเก็บเหรียญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสในการให้บริการและสร้างมูลค่าให้กับการลงทุน โดยมีการใช้งานจริงแล้วใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ

IoT Platform

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโซลูชัน Smart Environment Monitoring and Water Management สร้างระบบตรวจสภาพแวดล้อมและบริหารจัดการน้ำ โดยนำอุปกรณ์ NB-IoT Board และ NB IoT Sim ติดเข้ากับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ

เพื่อสามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งกล่องดังกล่าวเพื่อใช้งานจริงแล้ว บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ และ จ.ภูเก็ต โดยส่งข้อมูลไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เพื่อคอยติดตามสภาพแวดล้อม และระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อวางแผนป้องกันน้ำท่วมด้วย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาโซลูชันการดูแลคุณภาพยาและเวชภัณฑ์ภายในคลังยาด้วยเทคโนโลยี NB-IoT เพื่อสามารถตรวจสอบ และควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานจริงแล้วภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสุรนารี

โดยมีการพัฒนาซอฟท์แวร์เพิ่มเติมให้สามารถส่งข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์ของโรงพยาบาล และเภสัชกรสามารถเรียกดูได้ผ่าน Chat Application ได้ตลอดเวลา

มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโซลูชัน Smart Trash Bin มาแก้ไขปัญหาขยะล้นถังก่อนถึงรอบเวลาจัดเก็บ เนื่องจากจุดต่างๆ ของมหาวิทยาลัยจะมีปริมาณขยะที่แตกต่างกันตามสถานที่ และช่วงเวลา โซลูชันนี้สามารถทำให้ตรวจสอบปริมาณขยะแต่ละถัง และกลิ่นขยะภายในถังได้ตลอดเวลา

ทำให้สามารถเจ้าหน้าที่เข้าไปจัดเก็บได้ทันทีก่อนที่ขยะเต็มถัง และสามารถใช้งานต่อเนื่องทันที ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการการจัดเก็บ รวมถึงเป็นการดูแลทัศนียภาพของมหาวิทยาลัยให้สะอาดสวยงาม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโซลูชัน Smart City มาใช้บริเวณภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เช่น Smart Locker ล็อคเกอร์อัจฉริยะที่รวมเทคโนโลยี IoT ล่าสุดเข้าด้วยกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่อาคารหรือที่อยู่อาศัย, ระบบอ่านป้ายทะเบียน เพื่อควบคุมบุคคลเข้าออกสถานที่, Application พบหมอ และระบบควบคุมแสงสว่าง

นายเกรียงศักดิ์ วาณิชย์นที หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสได้เตรียมความพร้อมในด้านการพัฒนาเครือข่ายจากเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อรองรับเทคโนโลยี IoT-Internet of Things อย่าง NB-IoT

ซึ่งขณะนี้ครอบคลุมแล้วทั่วไทยเป็นการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร ตั้งแต่เครือข่าย อุปกรณ์และแพลตฟอร์มให้กับทุกภาคส่วน และพร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจนำ IoT ไปใช้ในการทำงาน

นอกจากนี้ยังได้เริ่มพัฒนา eMTC – enhanced Machine-Type Communication ที่สามารถใช้ควบคู่กับ NB-IoT เพื่อนำคุณสมบัติมาเสริมซึ่งกันและกัน อาทิ eMTC เหมาะกับการใช้งาน IoT แบบเคลื่อนที่ เช่น Connected Car รวมถึงสามารถรับ/ส่ง ข้อความเสียงในอุปกรณ์ IoT ยุคใหม่ๆ ได้อีกด้วย

นอกจากการวางโครงข่ายให้มีความพร้อมแล้ว เอไอเอสยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์จากทุกภาคส่วนผ่าน AIAP- AIS IoT Alliance Program ที่เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้เอไอเอสสามารถให้บริการ IoT เชิงพาณิชย์ได้เป็นรายแรก

โดยสามารถตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรมขององค์กรต่างๆ ยกระดับการใช้ชีวิต และ การบริหารจัดการในแต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเครือข่าย eMTC จะเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่ไตรมาส 2 และคาดว่าจะครอบคลุมทั่วประเทศได้ในไตรมาส 3 ปีนี้

ล่าสุดได้รับการยอมรับจาก ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ที่ประกาศให้เอไอเอส เป็น Thailand IoT Solutions Provider of the Year 2018 หรือ องค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านบริการ IoT

banner Sample

Related Posts